


โครงการ “เปลี่ยนนักล่า ให้เป็นนักเล่า”
สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
Equitable Education Fund (EEF)
“ที่ไปที่มา จากนักล่าสู่นักเล่า”
ปี พ.ศ ๒๕๕๓ ชุมชนและสำนักละครมรดกใหม่ ภายใต้มูลนิธิกุมุท จันทร์เรือง ได้เริ่มนำศิลปะการละครตามแนวทางวิถีสำนักของ ครูช่าง - ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง มาฝึกฝนขัดเกลาเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน ๕ แห่งทั่วประเทศ ผลสัมฤทธิ์ที่ได้ทำให้เยาวชนเกิดทักษะการแสดง การเล่าเรื่อง และการถามตอบอย่างใคร่ครวญ ส่งผลให้เยาวชนฟื้นฟูความนับถือในตัวเอง (Self Esteem) ยืนระยะพัฒนาทักษะการควบคุมความคิด อารมณ์และการกระทำ(EF Executive Function)เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายใหม่ในชีวิตได้ง่ายขึ้น
ชมรมละครในศูนย์ฝึกฯ ดำเนินการต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถพาเยาวชนก้าวพลาดเป็นตัวแทนประเทศไทยไปยืนอย่างสง่างามในเวทีเทศกาลละครนานาชาติที่ประเทศอินเดียได้สำเร็จ
จากวันนั้นถึงวันนี้ มรดกใหม่มีโอกาสทำงานร่วมกับเยาวชนก้าวพลาดในหลายมิติและพบว่าศิลปะการละครและวิถีขัดเกลาตนเองแบบสำนักคือ หนทางสร้างครูฝึกให้มีพลังใจและร่วมกันนำพาเยาวชนก้าวพลาดไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

“เปลี่ยนนักล่าให้เป็นนักเล่า”
คืออะไร ?
“เปลี่ยนนักล่าให้เป็นนักเล่า” ถือกำเนิดจาก “นิทานพรานน้อย” เรื่องเล่ารูปแบบแพรวพราว ชีวิตอันโลดโผนของพรานนักล่าสิงโต โดย ครูช่าง ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง มีสาระสำคัญว่า “ไม่มีเรื่องเล่าที่เล่าไม่ได้ มีแต่นักแสดงที่เล่าไม่เป็น”
และมีเป้าหมายที่จะพาคนฟังไปสู่การยอมรับความผิดพลาดของตัวเองและพร้อมจะหยิบยกขึ้นมาเป็นบทเรียนแก่ผู้อื่น
ในขณะเดียวกันเมื่อ “กล้าที่จะเล่า”
การเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เล่าก็เกิดขึ้นทันที
กระบวนการละครโดยเรื่องเล่า “พรานน้อย” จะเปิดใจเยาวชนก้าวพลาดและนำไปสู่การพิจารณาเหตุและหนทางแก้ไข สร้างความนับถือตัวเอง(Self Esteem)ขึ้นมาใหม่นำพาไปสู่การควบคุมความคิด อารมณ์และการกระทำไปสู่เป้าหมายใหม่
ในชีวิต (EF- Executive Function) และเหนือสิ่งอื่นใด
คือการแปลงทักษะเป็นสัมมาอาชีวะด้วย
“เรื่องเล่าของตัวเอง” ดังคำว่า
“เปลี่ยนนักล่า ให้เป็นนักเล่า”


วัตถุประสงค์โครงการ
• เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องสู่อาชีพ •
• เพื่อฟื้นฟูเยาวชนก้าวพลาดฯ ให้ได้ตั้งหลักใหม่ มีความอุตสาหะที่จะประกอบสัมมาชีพ •
• เพื่อสร้างพื้นที่ตลาดออนไลน์ แก่เยาวชนก้าวพลาดฯ สร้างนวัตกรรมการสร้างรายได้จากเรื่องเล่า •

โรงละครมรดกใหม่ จังหวัดปทุมธาณี
สถานที่ดำเนินโครงการ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ผูัร่วมโครงการ คือ เยาวชนจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน 4 แห่ง จำนวน 57 คน
สนับสนุนโดย
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

.jpg)
